GAT PAT จะไม่มีอีกแล้ว น้องๆ DEK66 รู้หรือยัง? จะเปลี่ยนเป็น TGAT TPAT แทน รวมไปถึงข้อสอบใหม่อย่าง A-Level น้องๆ ที่กำลังเตรียมตัว GAT อังกฤษ ฟังให้ดี ต่อไปนี้ต้องเป็น TGAT Eng แล้วนะ
สวัสดีครับ น้องๆมัธยมปลายที่น่ารักของพี่ทุกๆคน โดยเฉพาะน้องม.6 ที่กำลังเตรียมตัวอ่านหนังสือเพื่อการสอบเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย การทำคะแนน TGAT ได้ดีเปรียบได้กับก้าวแรกที่มั่นคงที่จะนำพาน้องๆไปยังคณะในฝันและมหาลัยที่ใช่
วันนี้จะรวบรวมข้อมูล TGAT TPAT ที่ละเอียดที่สุด วิเคราะห์ข้อสอบ TGAT ENG 66 โดยจะอ้างอิงจากข้อสอบปี 65 มาดูว่า TGAT อังกฤษ สอบอะไรบ้าง ฉะนั้นเรามารู้จักกับข้อ TGAT กันเลยดีกว่าครับ
TGAT คืออะไร?
TGAT (Thai General Aptitude Test) คือ ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่ ถูกออกแบบมาเพื่อลดความซ้ำซ้อนของวิชาที่ใช้สอบ และเน้นการนำความรู้เข้ามาประยุกต์ใช้ ไม่ใช่แค่เพียงการท่องจำเพียงอย่างเดียว
โดย TGAT จะถูกจัดสอบปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ซึ่งเปลี่ยนมาจาก GAT PAT (PAT จะเป็น TPAT แทนเช่นกัน) น้องๆต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดและเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่เนิ่นๆ
ท่องเข้าไว้ครับ ว่าเราทำได้ ไม่อะไรยากเกินความสามารถของเรา รู้เขา(ข้อสอบ) รู้เรา รบร้อยครั้ง น้องๆของพี่ก็จะชนะร้อยครั้งอย่างแน่นอนครับ
TGAT Eng คืออะไร?
TGAT Eng คือ ส่วนหนึ่งในข้อสอบ TGAT ที่ปกติตามเดิมเวลาเราสอบ GAT เราจะต้องสอบ GAT Eng อยู่แล้ว ตัว TGAT อังกฤษ ก็คือ ตัวข้อสอบ GAT อังกฤษ เดิมนั้นแหละ
แต่ในส่วนของข้อสอบ TGAT Eng ที่จะสอบในปั 66 นั้นจะมีความแตกต่างจากข้อสอบ GAT เดิมอยู่บ้าง โดยใน TGAT จะเหลือเพียงเนื้อหา 2 ส่วน คือ Speaking และ Reading เท่านั้น รายละเอียดเพิ่มเติมอยู่ในตารางเปรียบเทียบด้านล่าง
TGAT คืออะไร?
TPAT (Thai Professional Aptitude Test) คือ เป็นการสอบความถนัดวิชาชีพ ปรับมาจาก PAT คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
TPAT1 กสพท
TPAT2 ศิลปกรรมศาสตร์
TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
TPAT4 สถาปัตยกรรมศาสตร์ (ไม่มีการสอบวาดรูปแล้ว)
TPAT5 ครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์
TGAT สอบอะไรบ้าง?
TGAT วัดระดับผู้สอบด้วยกัน 3 ด้าน คือ
English Communication (การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ)
Critical and Logical Thinking (การคิดอย่างมีเหตุผล)
Future Workforce Competencies (สมรรถนะการทำงาน)
a. การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม (Value Creation & Innovation)
b. การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem Solving)
c. การบริหารจัดการอารมณ์ (Emotional Governance)
d. การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อสังคม (Civic Engagement)
แต่ในวันนี้พี่จะขอโฟกัสไปที่ English Communication เพียงส่วนเดียวนะครับ
สำหรับน้องๆคนไหน ที่ยังคุ้นเคยกับข้อสอบ GAT แบบเก่าอยู่ พี่บอกได้เลยครับว่า ในส่วนของพาร์ทภาษาอังกฤษ ยังคงคล้ายและใกล้เคียงกับของเดิมอยู่ครับ (ไม่ต้องตกใจไป)
TGAT สอบเป็นภาษาอะไร
หากไม่นับรวมพาร์ท English communication ที่เป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว อีก 2 พาร์ทที่เหลือ ผู้สอบสามารถเลือกได้ว่าจะสอบเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ
TGAT สอบไปเพื่ออะไร
คะแนนของข้อสอบ TGAT มีอายุ 1 ปี มีไว้สำหรับยื่น TCAS ในรอบแฟ้มสะสมผลงานหรือ Portfolio หรือไว้ยืนในรอบโควต้าและ Admission โดยจะขึ้นอยู่กับคณะต่างๆด้วย